วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554


ส่วนประกอบของแผงวงจรหลัก(Main Board) จุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ
ส่วนประกอบของแผงวงจรหลัก(Main Board)
1.     แบตเตอรี่ (Battery)  เมนบอร์ดจะมีแบตเตอรี่เล็ก ๆ  ที่ให้กับพวกเครื่องคิดเลข  หรือนาฬิกาติดไว้ เพื่อส่งไฟฟ้าหล่อเลี้ยงชิปเก็บข้อมูลบางตัว และทำหน้าที่เป็นนาฬิกาเดิมนับเวลาอยู่ตลอดยามที่ปิดเครื่อง
2.     การ์ดไอโอ I/O (I/O Card)  I/O ย่อมาจาก Input/Output เป็นการ์ดในการควบคุมการทำงานของฟลอปปีไดรฟ์ ฮาร์ดดิสก์  พอร์ตอนุกรม  และพอร์ตขนาน
3.     การ์ดวิดีโอ (Adapter Card)  การ์ดวิดีโอเป็นการ์ดควบคุมการแสดงผลบนจอ โดยจะส่งข้อมูลผ่านสัญญาณเข้าสู่จอ  การ์ดวิดีโอนี้จะมีหน่วยความจำวิดีโอของมันเองด้วย  ถ้าหน่วยความจำบนการ์ดมากก็จะแสดงสีและความละเอียดได้มาก
4.     สลอต (Slot) สลอตเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาววางเป็นแนวบนเมนบอร์ด ซึ่งทำหน้าที่เป็นคอนเน็กเตอร์เชื่อมต่อระหว่างการ์ดเมนบอร์ด  การ์ดทุกตัวจะทำงานได้จะต้องเสียบบนสลอตเสมอ
5.     รอม (ROM) Read-Only Memory  หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว  เขียนใส่ไม่ได้       รอมนี้จะเก็บข้อมูลถาวรเกี่ยวกับการเซตระบบ  ที่เรียกว่า BIOS” (Basic Input Output System)
6.      ชิปพิเศษ (Ship) ช่วยในการประมวลผล
7.      ลำโพง  ลำโพงทำหน้าที่ขับเสียงสัญญาณของเครื่อง
8.     แรม (RAM) เมื่อเปิดเครื่อง แรมก็เริ่มทำงาน โดยระบบปฏิบัติการเช่น MS-DOS จะโหลดโปรแกรมเข้าสู่แรมเพื่อเริ่มต้นทำงาน  ทันทีที่ปิดเครื่องข้อมูลในแรมจะหายไปทันที
9.     หม้อแปลงไฟ (Power Supply)  ไฟฟ้าที่ใช้ในวงจรของเมนบอร์ดใช้ระดับไฟ 5 โวลต์  และ 12 โวลต์  แต่ไฟฟ้าที่บ้านเป็น 220 โวลต์  เพราะฉะนั้นจะต้องมรการแปลงไฟฟ้าเสียก่อน  โดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า เพาเวอร์ซัปพลาย
10.   ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบ  โดยส่วนใหญ่ฮาร์ดดิสก์จะถูกใช้เก็บโปรแกรมระบบปฏิบัติการ  โปรแกรมทำงาน  และข้อมูลต่าง ๆ  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะไม่สูญหายไป
11.    ซ็อกเกตแรม (Socket RAM) เป็นที่สำหรับใส่แรม เป็นลักษณะเป็นสีเหลี่ยมสีเขียวยาวเป็นแท่ง
12.    ฟลอปปีไดรฟ์  มี 2 ขนาดให้คือ 3.5 นิ้ว  และ 5.25 นิ้ว  ไดรฟ์นี้ทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลบนแผ่นฟลอปปีดิสก์
13.   ซีพียู (CPU)  เป็นหน่วยประมวลผลทำการคำนวณ  ต่าง ๆ  เกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนข้อมูลหรือการเรียกใช้โปรแกรมต่าง ๆ  โดยตั้งชื่อรุ่นพีซี  เช่น Intel 486 และ Pentium  เป็นต้น
14.   เมนบอร์ด (Main Board) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่บรรจุอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ แผ่นเมนบอร์ดทำด้วยไฟเบอร์กลาส    ลวดลายที่เห็นเป็นลายวงจรนั้นเป็นโลหะทองแดงซึ่งนำ
     ไฟฟ้าได้ดี

รูปส่วนประกอบใน Main Board

 


  ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Port)
1.   พอร์ตคีย์บอร์ด  พอร์ตรูปทรงกลมนี้   เป็นพอร์ตเอาไว้ต่อกับคีย์บอร์ด 
2.     พอร์ตขนาน  พอร์ตนี้จะสื่อสารแบบขนาน  ปกติพอร์ตนี้จะต่อกับเครื่องพิมพ์  พีซีหลายยี่ห้อจะพิมพ์อักษรในพอร์ตนี้ว่า  LPT1
3.      พอร์ตจอยสติ๊ก  พอร์ตนี้เอาไว้ต่อกับคันโยกเล่นเกมส์  หรือที่เรียกกันว่า  จอยสติ๊ก
4.     พอร์ตอนุกรม  พอร์ตนี้จะสื่อสารแบบอนุกรมมีอยู่สองพอร์ตซึ่งใช้คอนเน็กเตอร์เสียบต่อต่างกัน พอร์ตนี้ส่วนใหญ่จะต่อกับอุปกรณ์เมาส์  หรือโมเด็มพีซีหลายยี่ห้อจะพิมพ์อักษรในพอร์ตเช่น COM1 และ COM2
5.      พอร์ตจอ  พอร์ตนี้เอาไว้ต่อกับสายสัญญาณจากจอแสดงผล
6.      ปลั๊กเพาเวอร์  ตัวพีซียูจะมีปลั๊กต่อเข้าและต่อออกปลั๊กตัวต่อเข้าจะนำไฟฟ้าไปเลี้ยงแผง
     วงจร  ส่วนปลั๊กตัวอต่อออกจะนำไฟฟ้าไปเลี้ยงจอ

โมเด็ม (Modem)
โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจาดิจิตอลเป็นอะนาล็อกหรือจากอะนาล็อกเป็นดิจิตอล โดยทั่วไปแล้วโมเด็มจะมีการต่อเข้ากับสายโทรศัพท์แล้วจึงจะต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกที  โมเด็มที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.      โมเด็มที่ต่อแบบภายนอก (External Modem)  จะต่ออยู่ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
2.      โมเด็มที่ต่อแบบภายใน (Internal Modem)  จะต่ออยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์



การบูตระบบ (Boot System)
            OS จะเริ่มทำงานเมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  หรือที่เรียกว่า การบูตระบบ (Booting the system) ในการบูตระบบนี้จะเป็นการโหลดโอเอสที่เรียกว่า เคอร์เนลที่เก็บอยู่ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเช่น ดิสก์ เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง กระบวนการนี้อาจเรียกได้อีกอย่างว่า การปลุกเครื่อง (Bootstrapping)

กระบวนการบูตเครื่องนี้จะเริ่มจากขั้นตอนที่สรุปได้ดังนี้
1.     โปรแกรมตรวจสอบตัวเองหรือ Self-test-Routine  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกฝังอยู่ในหน่วยความจำประเภทรอม (ROM) ของเครื่องจะมีการทำงานเป็นโปรแกรมแรกเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมา
โดยจะมีการตรวจสอบหน่วยความจำและอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับเครื่อง  ดังนั้นยิ่งมีหน่วยความจำมากก็จะยิ่งเสียเวลาการตรวจสอบนาน

2.     โปรแกรมเล็ก ๆ ทีเรียกว่า  ตัวปลุกเครื่อง (Bootstrap loader หรือ boot Routine)  ที่เก็บอยู่ในรอม  เช่นกัน  จะทำการดึงส่วนของเคอร์เนลจากดิสก์เข้าในไปในหน่วยความจำหลัก (RAM)  ภายในเครื่อง
3.    โปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นมาตรฐานในระบบ  หรือ เรียกอีกอย่างว่า  ดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์ (Device Driver) สำหรับอุปกรณ์มาตราฐานต่าง ๆ เช่น  เครื่องพิมพ์ (Printer)  แป้นพิมพ์ (Keyboard)  จอภาพ (Display) ดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive) เป็นต้น จะถูกโหลดเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัด  ซึ่งดีไวซ์ไดรฟ์เวอร์เหล่านี้จะถูกเรียกใช้โดยโปรแกรมอื่น ๆ  อีกที
4.     โอเอส ที่ถูกดโหลดเข้ามาสู่หน่วยความจำหลักจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของระบบทั้งหมดต่อไป  และจะยังคงอยู่ในหน่วยความจำหลักจนกว่าจะมีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของ DOS
        ดอสเป็นตัวทำให้เครื่องสามารถทำงานได้  ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
1.      รอมไบออส (ROM-BIOS) 
ย่อจาก Read Only Memory Basic Input Output System   คือโปรแกรมที่ควบคุมอุปกรณ์
พื้นฐาน  ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด  โปรแกรมนี้จะถูกเก็บอยู่ในรอมจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามดอสเวอร์ชั่นต่าง ๆ  แต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามฮาร์ดแวร์ของเครื่องพีซีรุ่นต่าง ๆ แทน  นั้นคือจะเป็นส่วนที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ของเครื่อง   ROM BIOS จะไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้  แต่จะเก็บอยู่ในเครื่องตลอด   ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า  ROM BIOS  จะเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมากกว่าที่จะเป็นส่วนหนึ่งของดอส  ภายในรอมไบออสจะประกอบด้วยโปรแกรมดังนี้
-         โปรแกรมตรวจสอบตัวเองหรือ Self-test-routine
เป็นโปรแกรมที่จะเริ่มทำงานเป็นโปรแกรมแรกเมื่อมีการเปิดเครื่องขั้นมา  เครื่องจะทำงานตามโปรแกรมนี้  โดยจะมีการตรวจสอบหน่วยความจำว่ามีขนาดเท่าไร  และมีอุปกรณ์ใดบ้างที่มีการติดตั้งอยู่กับเครื่อง
-         โปรแกรมเริ่มการทำงานของดอส หรือที่เรียกว่าตัวปลุกเครื่อง (Bootstrapper)
เป็นโปรแกรมที่ควบคุมให้มีการอ่านโปรแกรมบูตเรคอร์ด (Boot Record) ซึ่งอยู่ในแทร็กวงนอกสุดของดิสก์เข้ามา  เพื่อให้โปรแกรมบูตเรคอร์ดทำการอ่านส่วนอื่น ๆ  ของดอสเข้ามาอีกที
-         โปรแกรมควบคุมอุปกรณ์มาตรฐานต่าง ๆ ในระบบ หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์
(Device Driver)  อุปกรณ์มาตรฐานต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์  แป้นพิมพ์  จอภาพ  ดิสก์ไดร์ฟ  จะมีโปรแกรม    ดีไวซ์ไดร์ฟนี้เป็นตัวคบคุมการทำงาน  แบะให้ผู้ใช้หรือโปรแกรมใด ๆ สามารถเรียกใช้อุปกรณ์ เหล่านี้ได้
2.       บูตเรคอร์ด (Boot Record)
             หลังจากที่มีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  และโปรแกรมในรอมไบออสได้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องพีซีแล้ว ตัวปลุกเครื่องจะทำการอ่านบูตเรคอร์ดจากดิสก์ในตำแหน่งที่มีการระบุไว้ตายตัวเข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลัก หลังจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของบูตเรคอร์ดที่จะทำการโหลดส่วนอื่น ๆ ของ     โอเอสจากแผ่นดิสก์เข้ามาสู่หน่วยความจำ  และยกหน้าที่การควบคุมระบบเครื่องทั้งหมดให้กับโอเอส
3.      MSDOS.SYS
เป็นไฟล์ที่ซ่อนไว้ในระบบ (Hidden File)       ทำหน้าที่เป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าถึงโปรแกรมย่อยหรือ
ที่เรียกว่า รูทีน (Routine) ต่าง ๆ ภายในดอส  เมื่อผู้ใฃ้หรือโปรแกรมมีการเรียกใช้งานอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยนำข้อมูลเข้าหรือออก  ตัว MSDOS.SYS จะรับข้อมูลต่าง ๆ จากผู้ใช้หรือโปรแกรมเข้ามาและส่ง คำสั่งไปยัง IO.SYS ซึ่งจะเรียกใช้รูทีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป
4.      IO.SYS
เป็นไฟล์ที่ซ่อนไว้ในระบบเช่นกัน  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์รอบข้าง
อื่น เช่น เครื่องพิมพ์ แป้นพิมพ์  เป็นต้น
5.      COMMAND.COM
จะเป็นตัวแปลคำสั่ง    โดยจะรับคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปทางแป้นพิมพ์           แล้วทำการแปลความ
หมายว่าต้องการให้ดอสทำอะไร  แล้วจึงส่งต่อให้  MSDOS.SYS อีกทีหนึ่งเพื่อทำงานตามที่ต้องการต่อไป  คำสั่งภายใน (Internal Command)  ต่าง ๆ ของดอสที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้โดยไม่ต้องอาศัยแผ่นดอสหรือไม่มีอยู่ในฮาร์ดดิสก์ เช่น DIR COPY REN หรือDEL จะเป็นส่วนที่อยู่ในตัว Command.com ทั้งสิ้น  แต่ถ้าเป็นคำสั่ง FORMAT ซึ่งเป็นคำสั่งให้จัดเนื้อที่ในดิสก์ใหม่หรือคำสั่ง CHKDSK ซึ่งเป็นคำสั่งตรวจสอบเนื้อที่ของดิสก์ จะถูกเรียกว่าเป็น คำสั่งภายนอก (External Command)  ที่ไม่มีอยู่ใน Command.comแต่จะมีอยู่ในแผ่นดอสที่ใช้บูตระบบ  หรือในฮาร์ดดิสก์  ดังนั้นถ้าต้องการเรียกใช้คำสั่งภายนอกเหล่านี้  จำเป็นต้องเรียกจากแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์เท่านั้น



ระบบบัส (BUS)
บัส (Bus) คือช่องทางในการสื่อสาร     อุปกรณ์ต่าง ๆ  จะเชื่อมต่อกับโดยผ่านทางกลุ่มของสายสัญญาณ  ที่เรียกว่า บัส  อุปกรณ์ต่าง ๆ จะส่งและ    รับสัญญาณผ่านทางกลุ่มสายสัญญาณชุดเดียวกัน  ดังรูป

 









     สามารถแบ่งกลุ่มของบัสออกเป็น  3  กลุ่ม  คือ
1.      บัสข้อมูล (Data Bus)  ใช้สำหรับส่งรับข้อมูลภายในหรือหน่วยของระบบคอมพิวเตอร์
2.     บัสตำแหน่ง  หรือ  แอดเดรสบัส (Address Bus)  ใช้สำหรับส่งรับตำแหน่งอ้างอิงข้อมูลจากหน่วยความจำ หรือ จากอุปกรณ์ I/O (Input Output)
3.      บัสควบคุม (Control Bus)  ใช้สำหรับส่งสัญญาณควบคุม  การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

ลักษณะการทำงานของระบบบัส
     ในระบบคอมพิวเตอร์ที่หน่วยประมวลผลเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ       (เช่น Hard disk, CD-Rom,
 RAM) ผ่านทางบัส  ข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่ง/รับกันระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ  นั้นจะส่งรับผ่านทางบัสข้อมูล      (ข้อมูลจะเป็นรหัสเลขฐาน 2)  ดังนั้นหน่วยประมวลผลจะติดต่อกับหน่วยความจำหรืออุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูลที่ต้องการได้นั้น  ทั้งหน่วยความจำ  และอุปกรณ์รับหรือแสดงผลข้อมูลทุกอุปกรณ์  จะต้องมีหมายเลขเฉพาะ  หมายเลขนี้สำหรับหน่วยความจำก็คือแอดเดรส  ส่วนอุปกรณ์อินพุตและอุปกรณ์เอาท์พุตก็มีหมายเลขเฉพาะสำหรับอุปกรณ์หนึ่ง ๆ  เช่นเดียวกัน โดยเรียกว่า หมายเลข  I/O  (I/O Address) เมื่อหน่วยประมวลผลต้องการติดต่อกับหน่วยความจำที่ตำแหน่งใด   หรือติดต่อกับอุปกรณ์ใดก็จะส่งแอดเดรสของหน่วยความจำนั้น หรือของอุปกรณ์นั้นมา   ในการเลือกว่าหมายเลขแอดเดรสที่
ส่งมาเป็นของหน่วยความจำหรือของอุปกรณ์อินพุตเอาท์  พุต  หน่วยประมวลผลจะส่งสัญญาณระบุมาทางสัญญาณในบัสควบคุม

ระบบบัสของฮาร์ดแวร์
                ในการติดต่อกับอุปกรณ์ Input/Output (I/O) ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีหลายระบบบัสด้วยกัน  การออกแบบระบบบัสจะต้องให้เหมาะสมกับสถาปัตยกรรมของ CPU  เช่น
-       ISA BUS (Industrial Standard Architecture Bus) เป็นระบบบัสที่สามารถส่งรับข้อมูลได้ 16  บิต  เป็นระบบบัสในเครื่องรุ่น  80286  ที่เหมาะสมที่สุด  ISA BUS จะมีสล็อต (Slot) อยู่ 98  ขา    
 -    EISA BUS (Extended Industry Standard Architecture Bus)   เป็นระบบบัสที่สามารถ
      ส่งรับข้อมูลได้ 32 บิต  เหมาะกับเครื่องรุ่น 80386 และ 80486
    -    VL BUS (VESA Local Bus)   เป็นระบบบัสที่สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งแบบ 16 บิต  หรือ
          32 บิตก็ได้ ออกแบบมาใช้คู่กับเครื่องรุ่น 80386  เป็นต้นไป  มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล
          สูง
-         PCI BUS (Peripheral Component Interconnect)  เป็นระบบบัสที่สามารถส่งรับข้อมูลได้
     ทั้ง 32   และ 64 บิต   เหมาะกับเครื่องรุ่น 80486  เป็นต้นไปถึง Pentium


ทรานซิสเตอร์ (Transistor)
            ไม่วิวัฒนาการมาจากหลอดสูญญากาศ (Vacuum tube) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ  มีขนาดใหญ่  คล้ายหลอดไฟแรงเทียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  โดยที่ภายในหลอดสูญญากาศจะไม่อากาศอยู่ภายใน   ประกอบด้วย  ขดลวดพิเศษ  สารต่าง ๆ จะเป็นส่วนในการเก็บประจุไฟฟ้าเอาไว้  ซึ่งจะเป็นลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า  แต่เนื่องจากหลอดสูญญากาศ  มีข้อเสียหลายประการ  คือ
1.      มีขนาดใหญ่  ทำให้เปลื่องเนื้อที่  ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดใหญ่ด้วย
2.      ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก
3.      เกิดความร้อนสูงทำให้การทำงานผิดพลาดง่าย
4.      ทำการประมวลผลช้า  

หลังจากหลอดสูญญากาศ ได้พัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเป็น ทรานซิสเตอร์(Transistor)
ซึ่งเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ (Semi-conductor) ลักษณะเด่นของทรานซิสเตอร์ คือ
1.      มีขนาดเล็ก  ทำให้ประหยัดเนื้อที่  เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
2.      ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย
3.      ไม่เกิดความร้อนมาก
4.      เกิดข้อผิดพลาดของการประมวลผลน้อย
5.      ความเร็วในการประมวลผลเร็ว

             หลังจากอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ มีการพัฒนามาเป็นอุปกรณ์ วงจรรวม ที่เรียกว่าวงจร “IC” (Integrated  Circuit)  ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ประกอบขึ้นจากแผ่นซิลิกอนบาง ๆ  (Silicon Chip) โดยภายในอุปกรณ์ชนิดนี้นำเอาทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัวมารวมกันเป็นวงจร  ลักษณะเด่นของวงจรไอซี คือ
1.      มีขนาดเล็ก  ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงด้วย
2.      มีความเร็วในการประมวลผลสูงกว่าทรานซิสเตอร์


รูป IC (Integrated Circuit)


             หลังจากอุปกรณ์วงจรไอซี  ได้พัฒนามาเป็นอุปกรณ์วงจรรวม LSI (Large Scale Integration)
เป็นอุปกรณ์วงจรรวมที่คล้ายกับวงจรไอซี แต่เป็นวงจรรวมที่ใช้เทคนิคพิเศษที่ทำให้จำนวนของวงจรมีมากขึ้นหรือขนาดวงจรเท่าเดิมแต่ตัวทรานซิสเตอร์ภายในเพิ่มมากขึ้น 
                   
รูป LSI (Large Scale Integration)

 

                                                                         
ลักษณะการทำงานของทรานซิสเตอร์
          จะทำการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าที่ผ่านมาทางขาของทรานซิสเตอร์จาก  กระแสไฟฟ้า   +    มาเป็นกระแสไฟฟ้า -  หรือเปลี่ยนกำลังไฟฟ้าจากต่ำเป็นสูง  หรือจากสูงเป็นต่ำ  เพื่อให้ค่าที่ออก มาอีกขาหนึ่งของทรานซิสเตอร์มีค่าที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดเป็นลักษณะของรหัสข้อมูลขึ้นมา หรือเพื่อทำงานตามที่คอมพิวเตอร์ต้องการก็คือการประมวลผลต่าง ๆ 


สัญญาณนาฬิกา (CLOCK)
สัญญาณนาฬิกา (Clock)  เป็นตัวควบคุมคาบเวลาในการป้อนสัญญาณเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  แล้วให้  เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล  โดยที่สัญญาณนาฬิกา  จะมี สถานะ  คือ และ 1  หรือ 0 Vote และ +5 Vote  เป็นลักษณะของการป้อนสัญญาณไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  โดยมีการจ่ายไฟนั้น ขนาด  คือ และ ไฟบวก  5  Vote  ซึ่งความต่างของการป้อนไฟนี้จะเป็นสัญญาณในการควบคุมให้ CPU ทำงานหากสัญญาณนาฬิกามีความถี่มากในเวลาหนึ่ง ๆ  นั้นย่อมทำให้ CPU สามารถทำงานหรือประมวลผลได้มากขึ้นด้วย
     
        สัญญาณไฟฟ้า (Vote)
       
      +5

                                 0                                                                                        ช่วงเวลา 1 หน่วย
                           1                   2                    3                   4    
                                            รูปแสดง  คลื่นสัญญาณไฟฟ้า

              
               สัญญาณไฟฟ้า (Vote)
                                       


                                                                                                        
                                                                                                                             ช่วงเวลา 1 หน่วย
                  
                                               รูปแสดง  สัญญาณดิจิตอล

หน่วยของสัญญาณนาฬิกา 

มีหน่วยเป็น เมกะเฮริ์ต  (MHz)  เช่น 133 MHz, 266  MHz, 450 MHz  เป็นต้น  เป็นหน่วยความ  เร็วของ CPU  ที่ขนาดสัญญาณนาฬิกาต่าง ๆ


สถาปัตยกรรมของระบบไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูล 80x86
ความเป็นมา
ซีพียูถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปไมโครชิบที่เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์   ไมโครโพรเซสเซอร์จึงเป็นหัวใจหลักของระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ล้วนแล้วแต่ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียูหลัก ในเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น ES9000ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียู แต่อาจจะมีมากกว่าหนึ่งชิปประกอบรวมเป็นซีพียู
เทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากปี พ.. 2518 บริษัทอินเทลได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 8080 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด บิต ซีพียูรุ่นนี้จะรับข้อมูลเข้ามาประมวลผลด้วยตัวเลขฐานสองครั้งละ 8 บิต และทำงานภายใต้ระบบปฎิบัติการซีพีเอ็ม (CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิ้ลก็เลือกซีพียู 6502 ของบริษัทมอสเทคมาผลิตเป็นเครื่องแอปเปิ้ลทู ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้น
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยส่วนมากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูของตระกูลอินเทลที่พัฒนามาจาก 8088 8086 80286 80386 80486 และเพนเทียม ตามลำดับ
การพัฒนาซีพียูตระกูลนี้เริ่มจาก ซีพียูเบอร์ 8088 ต่อมาประมาณปี พ.. 2524 มีการพัฒนาเป็นซีพียูแบบ 16 บิต ที่มีการรับข้อมูลจากภายนอกทีละ บิต แต่การประมวลผลบวกลบคูณหารภายในจะกระทำทีละ 16 บิต บริษัทไอบีเอ็มเลือกซีพียูตัวนี้เพราะอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ในสมัยนั้นยังเป็นระบบ 8 บิต คอมพิวเตอร์รุ่นซีพียู 8088 แบบ 16 บิตนี้เรียกว่า พีซี และเป็นพีซีรุ่นแรก
ขีดความสามารถของซีพียูที่จะต้องพิจารณา นอกจากขีดความสามารถในการประมวลผลภายใน การับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์ภายนอกแล้ว ยังต้องพิจารณาขีดความสามารถในการเข้าไปเขียนอ่านในหน่วยความจำด้วย ซีพียู 8088 สามารถเขียนอ่านในหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง เมกะไบต์ (ประมาณหนึ่งล้านไบต์ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้น ความเร็วของการทำงานของซีพียูขึ้นอยู่กับการให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาซีพียู 8088 ถูกกำหนดจังหวะด้วยสัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็ว 4.77 ล้านรอบใบ 1 วินาทีหรือที่เรียกว่า 4.77 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เร็วขึ้นเป็นลำดับ
ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมฮาร์ดดิสก์ลงไปและปรับปรุงซอฟต์แวร์ระบบและเรียกชื่อรุ่นว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT)
ในพ.. 2527 ไอบีเอ็มเสนอไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า พีซีเอที (PC-AT) คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นคือ 6 เมกะเฮิรตซ์
การทำงานของซีพียู 80286 ดีกว่าเดิมมาก เพราะรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายในเป็นแบบ 16 บิตเต็มการประมวลผลก็เป็นแบบ 16 บิต ทำงานด้วยความเร็วของจังหวะสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า และยังติดต่อเขียนอ่านกับหน่วยความจำได้มากกว่า คือ ติดต่อได้สูงสุด 16 เมกะไบต์ หรือ 16 เท่าของคอมพิวเตอร์รุ่นพีซี


พัฒนาการของเครื่องพีซีเอทีทำให้ผู้ผลิตอื่นออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามอย่างไอบีเอ็มโดยเพิ่มขีดความสามารถเฉพาะของตนเองเข้าไปอีก เช่น ใช้สัญญาณนาฬิกาสูงเป็น เมกะเฮริตซ์ 10 เมกะเฮิรตซ์ จนถึง 16 เมกะเฮิรตซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์บนรากฐานของพีซีเอทีจึงมีผู้ใช้กันทั่วโลก ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายอย่างเต็มที่
ในพ.. 2529 บริษัทอินเทลประกาศตัวซีพียูรุ่นใหม่ คือ 80386 หลายบริษัทรวมทั้งบริษัทไอบีเอ็มเร่งพัฒนาโดยนำเอาซีพียู 80386 มาเป็นซีพียูหลักของระบบ ซีพียู 80386 เพิ่มเติมขีดความสามารถอีกมาก เช่น รับส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต ประมวลผลครั้งละ32 บิต ติอต่อกับหน่วยความจำได้มากถึง จิกะไบต์ (1 จิกะไบต์เท่ากับ 1024 บ้านไบต์จังหวะสัญญาณนาฬิกาเพิ่มได้สูงถึง 33 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถสูงกว่าพีซีรุ่นเดิมมาก
ใน พ.. 2530  บริษัทไอบีเอ็มเริ่มประกาศขายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบแตกต่างออกไปโดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน    (bus) ผลปรากฎว่า เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80386 ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ 80386 มีราคาแพงมาก ดังนั้นในพ.. 2531 อินเทลต้องเอาใจลูกค้าในกลุ่มเอทีเดิม คือลดขีดความสามารถของ 80386 ลงให้เหลือเพียง 80386SX
ซีพียู 80386SX ใช้กับโครงสร้างเครื่องพีซีเอทีเดิมได้พอดีโดยแทบไม่ต้องดัดแปลงอะไร ทั้งนี้เพราะโครงสร้างภายในซีพียูเป็นแบบ 80386 แต่โครงสร้างการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกใช้เส้นทางเพียงแค่ 16 บิต ไมโครคอมพิวเตอร์ 80386SX จึงเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูกและสามารถทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีเอทีได้
ซีพียู 80486 เป็นพัฒนาการของอินเทลใน พ.. 2532 และเริ่มใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปีต่อมา ความจริงแล้วซีพียู 80486 ไม่มีข้อเด่นอะไรมากนัก เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการรวมชิป 80387 เข้ากับซีพียู 80386 ซึ่งชิป 80387 เป็นหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์ และรวมเอาส่วนจัดการหน่วยความจำเข้าไว้ในชิป ทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็วขึ้นอีก
ในพ.. 2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูตัวใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ชื่อว่า เพนเทียม   การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้เปลี่ยนมาใช้ซีพียูเพนเทียม ซึ่งเป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงกว่าซีพียู 80486 มีความซับซ้อนกว่าเดิม และใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิต
การพัฒนาทางด้านซีพียูเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ใช้งานได้ดีมากขึ้น และจะเป็นซีพียูในรุ่นที่ ของบริษัทอินเทล โดยมีชื่อว่า เพนเทียมทู

รูป ซีพีอยู่รุ่นต่าง ๆ